วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning Log 14
Monday 25 November 2019

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาคนที่ยังไม่ได้สอบสอนออกมาสอบสอน อาจารย์คอยให้แนะนำ วิธีแก้ไขปัญหาในการสอน

                                     


                                  


ประเมินตนเอง            ตั้งใจฟังเพื่อนสอน และร่วมกิจกรรมกับเพื่อน
ประเมินเพื่อน              ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์            คอยให้คำแนะนำและนำไปพัฒนาการสอนตนเอง

Learning Log 13
Monday 25 November 2019

    อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอการสอบสอน แผนเสริมประสบการณ์ โดยให้เวลาคนละ ไม่เกิน 20 นาที

                                       

ดิฉัน แผนสอนเสริมประสบการณ์ หน่วย กลางวัน - กลางคืน


ข้อที่ควรปรับปรุง
1. เพลงที่ใช้ควรที่จะดัดแปลงให้ตรงกับหน่วยที่สอน
2. สื่อ ลูกโลก ควรที่จะใช้ไม้ เพื่อที่จะสามารถหมุนได้
3.ฝึกเรื่องการร้องเพลง ให้ตรงจังหวะ มีเสียงสูง ต่ำ
4.การใช้ภาษาี่เข้าใจง่าย  กระซับ


ประเมินตนเอง          ตั้งใจเตรียมสื่อการสอน   ตั้งใจฟังข้อแนะนำในการสอนจากอาจารย์
ประเมินเพื่อน            เพื่อนๆตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์         อาจารย์คอยให้คำแนะนำวิธีการสอนอย่างละเอียด

Learning Log 12
Monday  18  November  2019

กรวยแห่งการเรียนรู้
Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง แปลตามตัวก็คือเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทำซึ่ง ” ความรู้ ” ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, และการประเมินค่า



                                 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กรวยแห่งการเรียนรู้

จากรูปจะเห็นได้ว่า กรวยแห่งการเรียนรู้นี้ได้แบ่งเป็น 2 กระบวนการ คือ
กระบวนการเรียนรู้ Passive Learning (กระบวนการเรียนรู้แบบตั้งรับ)
  • กระบวนการเรียนรู้โดยการอ่านท่องจำผู้เรียนจะจำได้ในสิ่งที่เรียนได้เพียง 10%
  • การเรียนรู้โดยการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียวโดยที่ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมอื่นในขณะที่อาจารย์สอนเมื่อเวลาผ่านไปผู้เรียนจะจำได้เพียง 20%
  • หากในการเรียนการสอนผู้เรียนมีโอกาสได้เห็นภาพประกอบด้วยก็จะทำให้ผลการเรียนรู้คงอยู่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30%
  • กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพิ่มขึ้น เช่น การให้ดูภาพยนตร์ การสาธิต จัดนิทรรศการให้ผู้เรียนได้ดู รวมทั้งการนำผู้เรียนไปทัศนศึกษา หรือดูงาน ก็ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เป็น 50%
กระบวนการเรียนรู้ Active Learning (กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก)
  • การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70%
  • การนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติ ในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90%


Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย


1.Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ


2.Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”


3.Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้


4.Focus Attention การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก


5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น


6.Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน


7.Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร


8.Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง


9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ

Learning Log 11
Monday  11  November  2019

 อาจารย์ได้ทบทวนความรู้การทำงานของสมอง การจัดพื้นที่ 5 ส่วนตามแนวคิดให้สโคป
พื้นที่ (Space)
    เด็กปฐมวัยเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทํา เด็กจึงต้องการพื้นที่ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ พื้นที่ในการใช้สื่อต่างๆ สํารวจ เล่นก่อสร้าง และแก้ปัญหา พื้นที่ในการเคลื่อนไหว พื้นที่ส่วนตัว พื้นที่สําหรับเล่นคนเดียวและเล่นกับผู้อื่น พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัว และจัดแสดงผลงาน พื้นที่สําหรับผู้ใหญ่ที่จะร่วมเล่นและสนับสนุนความสนใจของเด็ก การจัดแบ่งพื้นที่ภายในห้องเรียนจะประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้

       1. พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัวของเด็ก เช่น ผ้ากันเปื่อน แปรงสีฟันแก้วนํ้า ฯลฯ อาจจะเป็นตู้ยาวแยกเป็นช่องรายบุคคล หรือชั้นวางของเป็นช่องๆ โดยมีชื่อเด็กติดแสดงความเป็นเจ้าของ
        2. พื้นที่กิจกรรมกลุ่มใหญ่ เช่น กิจกรรมฟังนิทาน ร้องเพลงเคลื่อนไหว ฯลฯ ที่ทําร่วมกันทั้งชั้นเรียน
          3. พื้นที่กิจกรรมกลุ่มย่อย เช่น กิจกรรมศิลปะร่วมมือ กิจกรรมทําหนังสือนิทานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย กิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยสมาชิกกลุ่มที่เหมาะสม คือ 4-6 คน ทั้งนี้เพื่อครูจะได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์ได้ใกล้ชิดและทั่วถึงมากขึ้น
         4. พื้นที่สําหรับมุมเล่น ไฮสโคปได้กําหนดให้มีมุมพื้นฐาน 5 มุม ประกอบด้วย มุมหนังสือ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมศิลปะ และมุมของเล่นซึ่งหมายถึงเครื่องเล่นสัมผัส เกมและของเล่นบนโต๊ะ ทั้งนี้ ไฮสโคปมีหลักการเรียกชื่อมุมต่างๆ ด้วยภาษาที่เด็กเข้าใจ จะไม่ใช้ภาษาซึ่งเป็นนามธรรมมากๆ เช่น มุมบทบาทสมมติ มุมเครื่องเล่นสัมผัส นอกจากนี้ ไฮสโคปเชื่อว่ามุมเล่นต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความสนใจของเด็ก เช่น เมื่อเด็กเกิดความสนใจหลากหลายมุมบ้านก็อาจปรับเปลี่ยนเป็นมุมร้านเสริมสวยมุมหมอ หรือมุมร้านค้าได้ตามบริบทของสิ่งที่เด็กสนใจในขณะนั้น
         5. พื้นที่เก็บของใช้ครู เช่น หนังสือ คู่มือครู เอกสารโปรแกรมสื่อการสอนส่วนรวมของชั้นเรียน เช่น วัสดุศิลปะต่าง ๆ เป็นต้น


อาจารย์ได้ให้ฝึกการเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มผ่านเพลง


การประเมิน
 ประเมินตนเอง              ตั้งใจเรียนแต่งกายเรียบร้อย
 ประเมินเพื่อน                   ตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์                  มีวิธีการสอนที่สนุกสนานผ่านการเล่น


Learning Log 10

Monday 28  October 2019

       วันนี้อาจารย์ได้เชิญ วิทยากร ผศ.ดร. กรรณิการ์  สุสม  มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่ิงสารนิทัศน์และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และสอนเพลงที่ใช้ในการเก็บเด็ก

                                       

สารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย (Documentation for Young Children)
หมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จากการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกไว้เป็นระยะ จะเป็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา อีกทั้งยังสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูด้วย
สารนิทัศน์สำคัญอย่างไร­
การจัดทำสารนิทัศน์ (Documentation) การจัดทำสารนิทัศน์ (Documentation) เป็นการจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญ เติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและข้อมูลที่บัน ทึกเป็นระยะๆ จะเป็นข้อมูลอธิบายภาพเด็ก สามารถบ่งบอกถึงพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สารนิทัศน์เป็นการประมวลผลที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูและร่องรอยผลงานของเด็ก จากการทำกิจกรรมที่สะท้อนถึงพัฒนาการในด้านต่างๆ การจัดทำสารนิทัศน์จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ซึ่งมีหลายรูปแบบ ได้แก่
        1.พอร์ตโฟลิโอสำหรับเด็กเป็นรายบุคคล เช่น การเก็บชิ้นงานหรือภาพถ่ายเด็กขณะทำกิจกรรม มีการใช้แถบบันทึก เสียง แถบบันทึกภาพแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในงานที่เด็กทำ เป็นต้น
  • 2.การบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การสอนแบบโครงการ (Project Approach) สามารถให้สารนิทัศน์เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทุกด้าน ทั้งประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กและการสะท้อนตนเองของครู รูปแบบการบรรยายเรื่องราวจึงมีหลายรูปแบบ อาจได้จากการบันทึกการสนทนาระหว่างเด็กกับครู เด็กกับเด็ก การบันทึกของครู การบรรยายของพ่อแม่ผู้ปกครองในรูปแบบหนังสือหรือจดหมาย แม้กระทั่งการจัดแสดงบรรยายสรุปให้เห็นภาพการเรียนรู้ทั้งหมด
  • 3.การสังเกตและบันทึกพัฒนาการเด็ก เช่น ใช้แบบสังเกตพัฒนาการ การบันทึกสั้น เป็นต้น
  • 4.การสะท้อนตนเองของเด็ก เป็นคำพูดหรือข้อความที่สะท้อนความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกจากการสนทนา การอภิปรายแสดงความคิดเห็นของเด็กขณะทำกิจกรรม ซึ่งอาจบันทึกด้วยแถบบันทึกเสียงหรือแถบบันทึกภาพ
  • 5.ผลงานรายบุคคลและรายกลุ่ม ที่แสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ ความสามารถ ทักษะจิตนิสัยของเด็ก ครูที่ชำนาญจะนำผลงานของเด็กมาใช้ดูพัฒนาการและกระบวนการทำงานของเด็ก ครูส่วนใหญ่มักจะเก็บผลงานการเขียนและผล งานศิลปะ อย่างไรก็ตามครูควรเก็บผลงานหลากหลายประเภทของเด็ก เช่น ภาพเขียน การร่วมระดมความคิดและเขียนออกมาในลักษณะใยแมงมุม การแสดงออกทางดนตรี การก่อสร้างในรูปแบบต่างๆ ตัวอย่างภาษาพูด เป็นต้น นอกจากการเก็บข้อมูลหลักฐานเพื่อประเมินการเรียนรู้และประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยข้างต้นแล้ว สารนิ ทัศน์ยังมีประโยชน์ต่อการพัฒนาครู ซึ่งประเภทของหลักฐานในพอร์ตโฟลิโอของครูรายบุคคลที่ควรใช้พัฒนา การสอนมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
  • 5.1หลักฐานการสอนเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กหลักฐานการสอนเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นภาพรวมของชั้นเรียน ได้แก่ ผลงานภาษาเขียน รายชื่อหนังสือ ผลงานที่เป็นสัญลักษณ์สื่อความคิดที่เรียบเรียงได้ ผลงานศิลปะและหัตถกรรมของเด็ก
  • 5.2ฐานเกี่ยวกับการสอนของครู ได้แก่ แผนการสอนของครูและบันทึกการสังเกตการณ์การสอนของอาจารย์นิเทศ บันทึกความคิดเห็นและความรู้สึกเกี่ยวกับการสอนแต่ละครั้ง ตัวอย่างสื่อ ภาพถ่ายและวีดิทัศน์แสดงการสอนและการจัดสภาพแวดล้อม ฯลฯ รายการต่างๆจะถูกรวบรวมไว้ในพอร์ตโฟลิโอซึ่งครูฝึกสอนและอาจารย์นิเทศจะใช้วิเคราะห์ด้วยกันเพื่อปรับปรุงการสอนครั้งต่อไป
  •                       
  • การประเมิน
  • ประเมินตนเอง              ตั้งใจร่วมกิจกรรม
  • ประเมินเพื่อน            ตั้งใจทำงานฟังความรู้  ร่วมกิจกรรม
  • ประเมินอาจารย์     อาจารย์น่ารัก  เปนกันเอง  สอนได้สนุกแฝงไปด้วยความรู้

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning Log 9

Monday  21 October  2019

วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา ศึกษาแผนการสอนของรุ่นพี่ หลังจากนั้นให้นักศึกษาทำกิจกรรมกลุ่ม  ให้วาดรูปสถานที่ แต่ห้ามบอกชื่อ กลุ่มของดิฉันทำแใ่น้ำชี  โดยมีสัญลักษณ์ คือดอกกระเจียว เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด

                                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกกระเจียว


                                       

                    อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มทำฐานจากกระดาษให้แข็งแรง โดยมีข้อจำกัดคือ หนังสือพิม5แผ่น และกาวหนังไก 1 ม้วน

                                           

ในกิจกรรมในครั้งนี้ให้รู้การทำงานเป็นกลุ่ม การวางแผน  การใช้ความคิดในการแก้ไขปัญหา


การประเมิน
ประเมินตนเอง                ตั้งใจในการทำงานกลุ่ม ช่วยเพื่อนๆทำงาน
ประเมินเพื่อน                  เพื่อนๆตั้งใจในการำงาน  แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์              อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย  มีการสอนเน้นลงมือกระทำ

Learning Log 8

Monday 7 October  2019

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มคิดเลือกสิ่งที่ตัวเองอยากเรียนรู้แลกเปลี่ยนวามคิดเห็นกับสมาชิกในกลุ่ม  กลุ่มของดิฉันอยากเรียนรู้เรื่อง  ดินสอ

การสอนแบบ  โปรเจกต์  แอพโพส  Project  Approach

   เป็นวิธีการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้แก่เด็กเพื่อเตรียมพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21 และ ศตวรรษต่อๆไป Project Approach ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กอย่างลุ่มลึกด้วยตนเอง สอนให้เด็กรู้วิธีการเรียนรู้ (Learning to Learn) ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองต่อไปได้ตลอดชีวิต 

Project  Approach  มี 3 ระยะ

ระยะที่ 1 ด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไร เกี่ยวกับเรื่องที่เลือกแล้วบ้าง ครูช่วยให้เด็กๆบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น วาด ปั้น จำลอง ฯลฯ เด็กๆบอกข้อสงสัยที่เด็กๆมีเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆจะเรียนรู้ และครูช่วยให้เด็กๆสรุปตั้งคำถามที่เด็กๆต้องการ หาคำตอบในระหว่างการสำรวจสืบค้นครั้งนี้ และบันทึกคำถามเหล่านั้น เด็กๆพูดคุยเกี่ยวกับว่าคำตอบที่เด็กๆจะสำรวจสืบค้นได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็กๆบันทึกความคาดคะเนของเด็กๆไว้ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในภายหลัง

                                                 

                                              

                                    

                                     

 ระยะที่2 – การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้

          ครูช่วยเด็กๆวางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบค้นได้ รวมถึงการจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจเรียนรู้ ที่จะสามารถตอบคำถามของเด็กๆได้ มาให้ความรู้กับเด็กๆ เด็กๆใช้หนังสือและคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ ในระหว่างกิจกรรมในวงกลมที่เด็กๆสามารถประชุมร่วมกัน และนำเสนอรายงานสิ่งที่เด็กๆค้นพบในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นระยะ ครูส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กๆถามคำถามและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆแต่ละคนได้ค้นพบคำตอบหรือเรียนรู้ด้วย เด็กๆวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนคำและป้ายต่างๆ สร้างกราฟและหรือแผนภูมิสิ่งที่เด็กๆวัดและนับ แล้วเด็กๆก็สร้างจำลองสิ่งที่เด็กๆสนใจเรียนรู้กัน 

                                 


 ระยะที่3 – การสรุป Project

         เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่เด็กๆตั้งไว้ได้ และเด็กๆจะได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้กับความรู้เดิมของเด็กๆว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเปรียบเทียบกับการคาดคะเนของเด็กๆที่ทำไว้ตั้งแต่ระยะแรกด้วย เด็กๆช่วยกันวางแผนจัดแสดงให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆได้เห็น วิธีการเรียนรู้ กิจกรรม ผลงาน และสิ่งที่เด็กๆค้นพบเรียนรู้ เด็กๆลงมือจัดแสดงเพื่อแบ่งปันความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับ “ Project Approach ” ของเด็กๆ ครูจะได้ช่วยสนับสนุนส่งเสริมนักสืบรุ่นจิ๋วเหล่านี้วางแผน และดำเนินการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆทำ และค้นพบกันอย่างสนุกสนาน กระตือรือร้นและภาคภูมิใจ

                                     

ผลงานของเพื่อนๆ






การประเมิน
ประเมินตนเอง                    ตั้งใจทำงาน ช่วยเพื่อนคิดและตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน
ประเมินเพื่อน                      ช่วยกันทำงานกลุ่มและแลกเปลี่ยนความคิด
ประเมินอาจารย์                  อาจารย์คอยให้คำแนะนำ  บอกสิ่งที่ควรพัฒนา


Learning Log 14 Monday 25 November 2019 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาคนที่ยังไม่ได้สอบสอนออกมาสอบสอน อาจารย์คอยให้แนะนำ วิธีแก้ไขปัญหาในการสอน...