วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning Log 2

Monday  12  August  2019


ความรู้ที่ได้รับ✋

             วันนี้เป็นการเรียนชดเชย เนื่องจากวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันหยุดราชการ จึงมาเรียนชดเชย  วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2562   
                 อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอนวัตกรรมการสอนแบบต่างๆ

                                         

ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง
                                           


                                          ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสอนแบบไฮสโคป ปฐมวัย วงล้อ


Plan Do Review
Plan : สำหรับเด็กวัย 3-4 ขวบ ให้วางแผนทีละกิจกรรม ส่วนวัย 4-5 ขวบ แนะนำให้วางแผนถึง 3 กิจกรรม
Do : เมื่อการวางแผนแล้ว เด็กควรต้องทำตามแผนที่วางไว้ และไม่ควรให้เด็กเปลี่ยนแผน เพราะต้องการให้เด็กมุ่งมั่นในวิธีคิดของเขา และไม่เป็นคนที่โลเล ผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมจะมีบทบาทสำคัญที่เข้าไปช่วยหากเขาต้องการการสนับสนุน
Review เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ ก็ถึงเวลารีวิว หรือทบทวนในสิ่งที่ทำไปว่าได้ทำอะไรก่อน-หลัง ได้ผลเป็นอย่างไร ชอบไหม แล้วควรจะทำอย่างไรให้ดีขึ้น ซึ่งหากอยู่ในคลาสก็จะเปิดโอกาสให้เพื่อนๆ ถามคำถามด้วย



 การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ 
      (Montessori) เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุก ๆ ด้านในเวลาเดียวกัน
      
                                    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสอนแบบมอนเตสซอรี่

หลักการสอนของมอนเตสซอรี่

เด็กได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กจึงควรได้รับการยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเอง คุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วงวัย
จิตซึมซับ เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ โดยเด็กจะซึมซับเอาข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง
ช่วงเวลาหลักของชีวิต เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ
การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน
การศึกษาด้วยตัวเอง เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง
การวัดประเมินผล คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผล โดยใช้วิธีการสังเกตและวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการสังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน

การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่

การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น จะเน้นการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน โดยมีคุณครูเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษา และกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยใช้จิตซึมซับกับสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงความสนใจความต้องการของเด็กในการเรียนรู้ ยึดความแตกต่างระหว่างบุคคล และส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ โดยจะจัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะด้านกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่ช่วยให้เด็กรู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง
                                      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสอนแบบมอนเตสซอรี่

การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach 

    เป็นวิธีการสอนให้เด็กเลือกเรื่อง หรือหัวข้อของโครงการตามความสนใจของเด็ก ๆ โดยเฉพาะ คุณครูสามารถกำหนดขอบเขตตามพัฒนาการของเด็ก ๆ ผ่านกระบวนการ 3 ระยะ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นโครงการ ขั้นพัฒนาโครงการ จนถึงการสรุปโครงการ ซึ่งจะช่วยให้คุณครูสามารถจัดระเบียบ ดูความก้าวหน้าของกิจกรรมตามการพัฒนาความสนใจของเด็ก และการมีส่วนร่วมกับหัวข้อการเรียนรู้นั้น ๆ
 ในระหว่างขั้นตอนการวางแผนเบื้องต้น คุณครูจะเลือกหัวข้อการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กเป็นหลัก และระดมประสบการณ์ความรู้ แนวคิดของตัวเด็ก แล้วนำเสนอเป็นหัวข้อใน Mind Map จากนั้นแตกออกมาเป็นหัวข้อย่อย เพื่อที่จะถูกเพิ่มในหัวข้อของ Mind Map และใช้สำหรับบันทึกความก้าวหน้าของโครงการอีกด้วย
                       รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การสอนแบบโครงการจะดำเนินการเป็น 3 ระยะ ได้แก่
  • ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถาม ทำใยแมงมุม นำเสนอและแสดง คิดสิ่งที่ตนเข้าใจในรูปแบบต่างๆตามความเหมาะสมของวัย
  • ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ครูจัดโครงการให้เด็กทำภาคสนาม และพูดคุยกับวิทยากร เป็นการค้นคว้า และมีประสบการณ์ใหม่ ถือเป็นหัวใจของโครงการ
  • ระยะที่ 3 ระยะสรุป ครูจัดให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมิน สะท้อนกลับ และนำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการ ป้ายนิเทศหรือสมุดโครงการ ฯลฯ

 การสอบแบบ EF ( Executive Function )

          EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ และการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ เพื่อให้เกิด ความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิต ครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกยืนยันแล้วว่า สำคัญกว่า IQ

                                            https://sites.google.com/a/npt2kindergarten.com/kindergarten/ef-executive-functions/Untitled_1_05.jpg?attredirects=0

EF หรือ Executive Functions จะประกอบด้วย ทักษะ 9 ด้าน คือ 

กลุ่มทักษะพื้นฐาน
    1. Working memory = ความจำที่นำมาใช้งาน หรือ ความสามารถในการเก็บประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
    2. Inhibitory Control = ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรองควบคุมแรงอยาก หยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูด
    3. Shiftingหรือ Cognitive Flexibility = ความสามารถในการยืดหยุ่น พลิกแพลง ปรับตัว เป็นจุดตั้งต้นของการคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์

กลุ่มทักษะกำกับตนเอง
    4. Focus Attention = ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
    5. Emotional Control = ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยวฉุนเฉียว ขี้หงุดหงิดง่าย จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
    6. Self-Monitoring = คือ การประเมินตนเองรวมถึงสะท้อนผลการทำงาน เพื่อหาจุดบกพร่อง แล้วแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมาย ให้เป็นขั้นตอน รวมถึงรู้ตัวว่า กำลังทำอะไร  ได้ผลอย่างไร

กลุ่มทักษะปฏิบัติ
    7. Initiating = ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
    8. Planning and Organizing = การวางแผนและดำเนินการตั้งแต่ตั้งเป้าหมาย เห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ จนถึงการดำเนินการ และประเมินผล
    9. Goal- Directed Persistence = ความพากเพียรให้บรรลุเป้าหมายมุ่งมั่น ฝ่าฟันอุปสรรคและล้มแล้วลุกได้ เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่นไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ

        ทักษะเหล่านี้ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เพื่อให้เกิดการ “ฝังชิป” เป็นโครงสร้างในสมองของเด็ก โดยเฉพาะในวัย 3-6 ปี ซึ่งเมื่อฝังตัวแล้วก็จะคงอยู่เป็นนิสัยหรือคุณสมบัติของบุคคลไปตลอดชีวิต

                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสอนแบบef




ประเมินตนเอง              ตั้งใจเรียนและฟังเพื่อนนำเสนอ
ประเมินเพื่อน                ตั้งใจฟังเพื่อรกลุ่มอื่นนำเสนอ
ประเมินอาจารย์            คอยแนะนำข้อมูวิธีการสอนและความรู้เพื่ทเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Learning Log 14 Monday 25 November 2019 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาคนที่ยังไม่ได้สอบสอนออกมาสอบสอน อาจารย์คอยให้แนะนำ วิธีแก้ไขปัญหาในการสอน...